การบริหารจัดการธนาคารปูม้า นอกจากมีความเข้าใจในโครงสร้างธนาคารปูม้า ยังต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการองค์ความรู้ที่หลากหลายที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของปูม้า เช่น ความเค็มมากว่า 27-35 อุณหภูมิ 26-32 องศาเซลเซียส เป็นต้น มีความเข้าใจในแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำหากมีแหล่งหญ้าทะเลและพื้นที่สันดอนทรายเป็นแหล่งหลบภัยของตัวอ่อนจะทำให้เพิ่มอัตราการรอดมากขึ้น รวมทั้งความเข้าใจเทคนิคการปล่อยปูม้าจะสามารถเพื่อเพิ่มอัตราการรอด เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และแบบจำลองกระแสน้ำ จะช่วยทำให้ทราบถึงพื้นที่ปล่อยลูกปูม้าที่เหมาะสม รวมทั้งความเข้าใจบริบทสังคมชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนจะนำมาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
Management of blue crab banks requires not only the understanding of blue crab bank structure but also understanding and being able to manage a variety of relevant knowledge, such as the environment and ecosystems that are conducive to the habitat of blue crabs such as salinity more than 27-35, temperature 26-32 degrees Celsius. If there are seagrass sources and sand shoals which are an embryo shelter, it will increase the survival rate of blue crabs. Furthermore, the understanding of the technique of releasing blue crabs will also help increasing their survival rate. Geographic Information Technology and the current model will help indicating the appropriate areas of the baby crab release integrated with understanding of the social context, community and community participation leading to sustainable development.

ข้อมูลวิชาการจากการวิจัยเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า นำไปใช้ประโยชน์เพื่อประเมินยกระดับการทำการประมงของไทย (Fishery improvement program) สามารถขยับระดับมาตรฐานของการประมงไทย จากระดับ C เป็นระดับ A และได้แสดงผลการประเมินในฐานข้อมูลที่ได้รับความเชื่อถือจากสากลประเทศ ผ่านเว็ปไซต์การประมงนานาชาติ (www.fisheryprogress.org) รวมทั้งได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จัดทำธนาคารปูม้าจำนวน 60 แห่ง ตลอดแนวชายฝั่งตั้งแต่อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ลงมาถึงอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ในหลายพื้นที่ซึ่งมีการบริหารจัดการระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องควบคู่กับการจัดทำธนาคารปูม้า พบว่าสามารถพบตัวอ่อนปูม้าจำนวนมาก และจากการสัมภาษณ์ชาวประมงจับปูม้าได้มากขึ้น และมีรายได้จากการประมงเพิ่มขึ้น
Academic information from research to restore blue crab resources will be used for the evaluation of Thai fishery improvement (Fishery improvement program) which will be able to move the Thai fishery standard level from level C to level A with displayed results in the database trusted by international countries through the international fishing website (www.fisheryprogress.org). From fisherman interviews, application of knowledge to create 60 blue crab banks along the coast from Tha Chana district Surat Thani Province descending to Hua Sai District Nakhon Si Thammarat with ecological management and the preparation of blue crab banks resulted in the increase of crab larvar as well as the fishery of blue crab harvest leading to the increase of income of local fisherman.