Health & Medicine

The FAP model ‒ A Tool and Process to Enable Self-Management in Community Health

Walailak Innovation 08, December 2018

 

The FAP model ‒ A Tool and Process to Enable Self-Management in Community Health

 

The FAP model [Family and Community Assessment Process Model] is composed of 1) a FAP questionnaire for collecting data, 2) a FAP database for data input and processing timely reports, and 3) a FAP process for encouraging community participation as a part of community development through 9-steps of continuous application: (1) team building, (2) community assessment (by FAP questionnaires), (3) FAP database manipulation, (4) data input, (5) outcome analysis, (6) community conference, (7) community planning, (8) implementation, and (9) evaluation and report of outcome.

FAP model มาจากคำว่า Family and Community Assessment Process Model หรือ คือรูปแบบการประเมินสุขภาพครอบครัวและชุมชน ประกอบด้วย 1) แบบเก็บข้อมูลในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่ได้รับการศึกษาวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีคุณภาพ 2) ระบบฐานข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาให้นำใช้ได้ง่าย สะดวก วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถนำข้อมูลออกมาใช้ได้ทันการณ์ 3) กระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่ช่วยกระตุ้นให้ชุมชนเข้าร่วมในกระบวนการและต้องการพัฒนาชุมชนโดยชุมชนเอง ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างทีมงาน 2) การใช้แบบสอบถามประเมินชุมชน 3) การจัดการฐานข้อมูล 4) การบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม FAP 5) การวิเคราะห์ประมวลผล และตรวจสอบข้อมูล 6) การทำประชาคม 7) การจัดทำแผนและโครงการพัฒนาสุขภาพชุมชน 8) การดำเนินงานโครงการ 9) การนำเสนอโครงการ

FAP was developed from the participatory action research project by Assist. Prof. Dr. Urai Jaraeprapal and team from the Faculty Practice Project of the Institute of Nursing, Walailak University. Since 2004 the execution of this project has included collaboration among Walailak University, 12 villages in a jurisdiction of Pakpoon subdistrict, Thasala Hospital, and Pakpoon Sub-District Administration Organization. It is an integrated learning practice to develop the Pakpoon community as well as to create a “happy community” through the application of FAP for data storage, analysis, and community health management.

FAP model เป็นเครื่องมือและกระบวนการที่ได้จากการศึกษาวิจัยและพัฒนาในพื้นที่ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการ Faculty Practice ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับองค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน และ 12 หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน โรงพยาบาลท่าศาลา สถานีอนามัยบ้านศาลาบางปู และสถานีอนามัยบ้านตลาดหัส เป้าหมายเพื่อพัฒนา ตำบลปากพูนให้พร้อมเพื่อเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลในด้านการจัดการสุขภาพชุมชน ซึ่งก่อนการเข้าร่วมโครงการนั้นพบว่า ไม่มีข้อมูล ชุดข้อมูลทีสนับสนุนการวางแผนการดูแลสุขภาพสำหรับคณะทำงาน ส่งผลให้ มีแต่แผนงาน โครงการตั้งรับในสถานพยาบาล ไม่มีแผนงานการสร้างเสริม ป้องกันในชุมชน ประชาชนในชุมชนคิดว่าการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำให้มีประชาชนเจ็บป่วยมารับการรักษาเพิ่มขึ้นตลอด นำมาสู่การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาให้เกิดการจัดการสุขภาพโดยชุมชนขึ้น จนปี 2550 ได้พัฒนาแนวทางการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับการบันทึกข้อมูลจำนวนมาก ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลถูกต้อง สามารถนำเข้าสู่เวทีประชาคม สะท้อนข้อมูลให้ชุมชนได้รับรู้ เรียนรู้เพื่อออกแบบแผนงาน โครงการต่างๆแบบมีส่วนร่วม ส่งผลให้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของประชาชนดีขึ้น เช่น กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น ทำให้อัตราประชากรกลุ่มเสี่ยงลดลง 

Because of the excellent outcome of the FAP project, the Pakpoon sub-district organization has received further funding from the Thai Health Promotion Foundation to expand the FAP model to 60 sub-district organizations in different parts of Thailand. Presently, the Thaioil Company grant for Walailak University Institute of Nursing enables  continuing research on FAP, thereby encouraging community health management in Laem Chabang Community, Chonburi province. Distribute this knowledge to all relevant health stakeholders, e.g., students in health sciences from Burapha University, such as nursing and pharmacy students, nursing students of Walailak University, and health officials at Ramathibodi Hospital.

ความร่วมมือในการจัดการสุขภาพในภาพรวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการยอมรับจากสังคม ส่งผลให้ได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้เผยแพร่องค์ความรู้นี้สู่ 60 ตำบลทั่วประเทศในปี 2551-2555 และได้รับทุนในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากบริษัทไทยออยด์ โดยใช้พื้นที่ของตำบลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นแหล่งปฏิบัติการตั้งแต่ปี 2555 ถึงปัจจุบัน เป้าหมายเพื่อพัฒนาเครื่องมือชิ้นนี้ ให้เป็นเครื่องมือการทำงานร่วมทุกภาคีด้านสุขภาพในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และเป็นเครื่องมือให้นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น นักศึกษาพยาบาล นักศึกษาเภสัชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยบูรพา นักศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาล นักศึกษาพยาบาล ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลรามาธิบดี

Investigators: 

Assistant.Prof.Dr.Urai Jaraeprapal

School of Nursing, Walailak University, Thasala, 

Nakhon Si Thammarat 80160

 

ผู้คิดค้น

ผศ.ดร.อุไร  จเรประพาฬ

สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

Licensing: 

  • FAMILY ASSESSMENT PROGRAM  version  1 (2004)
  • FAMILY ASSESSMENT PROGRAM  version  2 (2005)
  • FAMILY and COMMUNITY ASSESSMENT PROGRAM  version  3 (2006)
  • FAMILY and COMMUNITY ASSESSMENT PROGRAM  version  4 (2007) 
  • FAMILY and COMMUNITY ASSESSMENT PROGRAM  version  5 (2007) 
  • FAMILY and COMMUNITY ASSESSMENT PROGRAM  version  6 (2008) 
  • FAMILY and COMMUNITY ASSESSMENT PROGRAM  version  7 (2009)
  • FAMILY and COMMUNITY ASSESSMENT PROGRAM  version  7 (2017)

 

Awards:

Outstanding People Services Award

Office of the Board of Official Development, 2010

 

More informationhttp://www.hccrg.org/

 

Facebookwufrontovation

Related Link: 


TOP