
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก คมเม่น อาจารย์สังกัดสำนักวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ ได้จัดกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ตามแนวทาง STEM Education ถังขยะเปียกรักษ์โลก ณ ห้องประชุมเกียรติยศ โรงเรียนชุมชนใหม่ โดยในครั้งนี้ ได้จัดกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนใหม่ จำนวน 15 คน ซึ่งนับเป็นกิจกรรมครั้งที่ 6 ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง : ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้แบบ STEM Education แก่นักเรียนโรงเรียนชุมชนใหม่ เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งทักษะนี้เป็นทักษะหนึ่งในทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ที่มีความสำคัญกับผู้เรียน โดยทำการแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม จะได้เรียนรู้ในกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ ตามแนวทาง STEM Education: การทำถังขยะเปียกรักษ์โลก 1) ร่วมด้วยช่วยกันแก้ (ปัญหา) 2) ร่วมกันออกแบบ และ 3) ร่วมกันสร้างสรรค์สู่การนำเสนอ และการสรุปความรู้ให้นักเรียน เพื่อให้ผู้เรียน รู้และเข้าใจ และทำการทดสอบความรู้ความเข้าใจ โดยผลประเมินความพึงพอใจจากผู้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คิดเป็น 100% นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก คมเม่น ได้มีการสรุปผลวัดการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จากการดำเนินกิจกรรมเรียนรู้ของนักเรียน ทั้ง 5 กิจกรรมที่ผ่านมา เพื่อให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง จากการบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อนำไปเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 4 (Quality education) สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และข้อที่ 17 (Partnerships for the Goals) สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย